คาเฟ่+ธุรกิจขายสารพัดน้ำยาที่ช่วยโลกลดขยะ
Better
Moon café x Refill Station
คาเฟ่+ธุรกิจขายสารพัดน้ำยาที่ช่วยโลกลดขยะ
เราเดินเข้าซอยอ่อนนุช 77/1
ที่ผู้คนขวักไขว่จอแจ สองข้างทางเรียงรายด้วยร้านค้า พ่อค้าแม่ค้ากำลังขายอาหาร
ไม่ทันไรก็มาถึงคาเฟ่น้องใหม่ประจำซอยที่มองปราดเดียวก็เห็นความแตกต่าง
ร้านที่เกิดขึ้นเพื่อให้คนมาช่วยกันลดขยะพลาสติกที่กำลังสร้างปัญหาแก่โลกถูกคิดและออกแบบขึ้นมาอย่างไร
สมาชิกทีม Refill Station ได้แก่ แพร์-ปภาวี พงศ์ธนาวรานนท์,
แอน-สุภัชญา เตชะชูเชิด และน้ำมนต์-ชนินทร์ ศรีสุมะ
กำลังรอบอกเล่าอยู่แล้ว
“อย่างเช่นโครงสร้างเก่าที่ตึกจะมีบันได 2 ฝั่ง ตอนแรกจะทุบอันใดอันหนึ่งทิ้ง
แต่เราคิดว่ามันเปลืองทรัพยากรที่จะทำอย่างนั้น เลยออกแบบด้านหนึ่งให้กลายเป็น connecting room เชื่อมห้องพักที่อยู่ในแกนเดียวกันด้วยบันไดสามชั้นเลย
เวลาเพื่อนมาเป็นกรุ๊ปใหญ่ๆ ก็อยู่ห้องนี้ได้
ถ้าทุบบันไดระยะเวลาก่อสร้างจะนานแถมต้องทำพื้นใหม่ ได้ห้องเพิ่มก็ไม่เยอะเท่าไหร่
นอกจากนี้พื้นชั้นลอยก็เป็นของเดิม ลายเหล็กดัดก็เป็นลายเดิมพอทำเสร็จแล้วมันก็สวยเข้ากับบรรยากาศ
เพราะเราตั้งต้นจากว่าของเก่ามีอะไรอยู่ ไม่ได้เอาไอเดียมาจับยัดใส่”
แพร์ออกแบบให้ที่นี่มีความโปร่งแบบลอฟต์
ผสมการตกแต่งสไตล์มินิมอลแบบญี่ปุ่นโครงสร้างจึงไม่ซับซ้อนมากแต่โดดเด่นที่ของตกแต่งภายใน
เนื่องด้วยครอบครัวทำธุรกิจโรงแรมอยู่เดิม เฟอร์นิเจอร์สวยๆ
หลายชิ้นที่เห็นจึงเป็นเฟอร์นิเจอร์รียูส
และเนื่องเป็นกลุ่มคนชอบเที่ยวป่า
แพร์มองว่าย่านอ่อนนุชเป็นย่านพลุกพล่าน เต็มไปด้วยที่อยู่อาศัยและคอนโด เธอจึงอยากให้ร้านแห่งนี้เป็นตัวแทนของ
green space ที่มาพักผ่อนหย่อนใจได้
เป็นที่มาของโทนสีเขียวสบายตาและต้นไม้ที่ซ่อนตัวอยู่ตามมุมต่างๆ
ทำให้บรรยากาศดีขึ้นจริงถ้าใครอยากมาใช้บริการเป็นสตูดิโอถ่ายรูปก็ยินดีต้อนรับเช่นกัน
Refill
Station ที่ห้อยท้ายชื่อคาเฟ่นั้นหมายถึงส่วนธุรกิจ ‘ปั๊มน้ำยา’
เปิดจำหน่ายน้ำยาหลากหลายที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน บางคนอาจจำได้ว่า Refill Station ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นพร้อมคาเฟ่
พวกเขาเคยทำโปรเจกต์ตั้งโต๊ะทดลองขายน้ำยากันมาแล้วที่ย่านราชเทวีและอ่อนนุช โดยเริ่มต้นจากการเห็นโมเดลธุรกิจนี้ที่ต่างประเทศ
จึงอยากให้เมืองไทยมีร้านรูปแบบนี้เกิดขึ้นบ้าง ถ้าคนพกขวดมาซื้อน้ำยาเอง
นอกจากช่วยสิ่งแวดล้อมแล้ว
ในเชิงการซื้อขายก็ซื้อได้ถูกกว่าเวลาซื้อปลีกเป็นขวดเล็กๆ
เพราะไม่มีค่าต้นทุนแพ็คเกจจิ้ง
แพร์ แอน และน้ำมนต์ ค่อยๆ
รวบรวมซื้อหาสารพัดน้ำยาที่คนใช้ในชีวิตประจำวันในรูปแบบขวดแกลลอน
ทั้งน้ำยาล้างจาน แชมพู สบู่ โลชั่น ฯลฯ
มีทั้งแบรนด์ใหญ่ที่ตลาดนิยมและแบรนด์ผู้ประกอบการรายย่อยที่ผลิตสินค้าเป็นมิตรต่อสุขภาพ
มาแบ่งขายด้วยวิธีการชั่งน้ำหนัก ใช้เท่าไหร่ก็ปั๊มไปและจ่ายเท่านั้น
ด้วยความที่คนไทยอาจยังไม่คุ้นกับระบบซื้อขายแบบนี้
โซนนี้จึงมีคำแนะนำในการซื้อไว้เสร็จสรรพ
พร้อมแนะนำตัวแบรนด์ผู้ประกอบการรายย่อยให้ลูกค้ารู้จักอย่างเป็นมิตรจะได้มีตัวเลือกมากขึ้น
อย่างเช่นแบรนด์ ใบว่าน, Hug, ปันกันกรีน หรือพระนครทำเล่น
“ด้วยความที่คนยังติดการใช้ฟองอยู่มาก
โปรดักต์เราเลยมีทั้งแบบออร์แกนิกและกึ่งออร์แกนิกถึงจะมีสารเคมีบ้างแต่ความเข้มข้นก็น้อยกว่าปกติ
อีกอย่างคือเราอยากให้ใครก็เริ่มลดขยะได้
ไม่ได้กำหนดเซกเมนต์ว่าต้องเป็นคนสายออร์แกนิกเท่านั้น”
แอนผู้รับบทดีลกับผู้ประกอบการเล่า “มันเป็นบริการที่ใช้เซอร์วิสสูง ลูกค้าไม่ค่อยรู้ว่าต้องทำยังไง
ต้องค่อยๆ สอนว่าชั่งอย่างนี้ วัดอย่างนี้
แต่ตอนนี้คนเริ่มพาเพื่อนหรือครอบครัวมาและอธิบายกันเองได้แล้ว”
ตอนนี้ Refill Station มีสินค้าหลากหลายขึ้นเยอะ
ดึงดูดลูกค้ามาที่คาเฟ่ได้มากมาย แถมยังมีคนติดต่ออยากเอาสินค้าเข้ามาขาย
แต่ด้วยข้อจำกัดด้านพื้นที่ พวกเขาจึงเชียร์ให้คนที่สนใจลองเปิดร้านดูเลย
ล่าสุดยังต่อยอดจัดมีตติ้งพบปะสำหรับคนสนใจธุรกิจแนวนี้ที่ร้านด้วย
กลยุทธ์ช่วยลดขยะที่ซ่อนตัวอยู่ทุกมุมร้าน
พออยู่ในซอยที่อุดมด้วยอาหารขนาดนี้
แน่นอนว่าลูกค้าอาจอยากกินอาหารร้านนั้นผสมกับน้ำของร้านนี้
ที่นี่เลยคิดแหวกด้วยการต้อนรับอาหารจากร้านอื่น ภายใต้เงื่อนไขเดียวคือ
ขอให้นำจานที่จัดไว้ให้ของที่ร้านถือออกไปเติมอาหารกลับเข้ามานั่งกิน
ช้อนส้อมมีให้ กินเสร็จแล้วขอให้ช่วยล้างเก็บก็พอ
พออยู่ในซอยที่อุดมด้วยอาหารขนาดนี้
แน่นอนว่าลูกค้าอาจอยากกินอาหารร้านนั้นผสมกับน้ำของร้านนี้
ที่นี่เลยคิดแหวกด้วยการต้อนรับอาหารจากร้านอื่น ภายใต้เงื่อนไขเดียวคือ
ขอให้นำจานที่จัดไว้ให้ของที่ร้านถือออกไปเติมอาหารกลับเข้ามานั่งกิน
ช้อนส้อมมีให้ กินเสร็จแล้วขอให้ช่วยล้างเก็บก็พอ
“ตอนแรกเราคิดว่าจะทำให้ซอยนี้ไม่มีขยะจากแพ็คเกจได้ไหม
มันท้าทายนะเพราะซอยนี้มีอาหารริมทางเยอะ เลยคิดวิธีให้เริ่มจากการเอาจานไปเติม
คนในซอยก็เริ่มรู้เพราะมีฝรั่งถือจานขาวๆ ออกไปเติมกันบ่อยๆ อ๋อ
ร้านนี้เขาไม่เอาพลาสติกนะ บางคนก็เริ่มคุยกันเองว่า อ้าว ทำไมวันนี้ใช้โฟมล่ะ
เริ่มมีการตระหนักกันมากขึ้น เขาทำเท่าที่เขาทำได้ก็ยังดี
เพราะเราไม่ได้คาดหวังให้คนมาเปลี่ยนแบบร้อยเปอร์เซ็นต์” แพร์ย้ำจุดยืน
หลังเปิดร้านอย่างเป็นทางการ
นอกจากจะมีผู้บริโภคที่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมาพูดคุยแบ่งปันความคิดเห็นอยู่สม่ำเสมอ
จนทีมตัดสินใจทำ contact sheet แปะไว้ให้เขียนในร้านเผื่อลูกค้าจะได้แลกเปลี่ยนกันเอง
เรื่องน่าเซอร์ไพรส์อีกอย่างคือแม้แต่คนต่างชาติก็ยังติดต่อมาขอคำแนะนำ
แพร์ แอน และน้ำมนต์ ค่อยๆ รวบรวมซื้อหาสารพัดน้ำยาที่คนใช้ในชีวิตประจำวันในรูปแบบขวดแกลลอน ทั้งน้ำยาล้างจาน แชมพู สบู่ โลชั่น ฯลฯ มีทั้งแบรนด์ใหญ่ที่ตลาดนิยมและแบรนด์ผู้ประกอบการรายย่อยที่ผลิตสินค้าเป็นมิตรต่อสุขภาพ มาแบ่งขายด้วยวิธีการชั่งน้ำหนัก ใช้เท่าไหร่ก็ปั๊มไปและจ่ายเท่านั้น ด้วยความที่คนไทยอาจยังไม่คุ้นกับระบบซื้อขายแบบนี้ โซนนี้จึงมีคำแนะนำในการซื้อไว้เสร็จสรรพ พร้อมแนะนำตัวแบรนด์ผู้ประกอบการรายย่อยให้ลูกค้ารู้จักอย่างเป็นมิตรจะได้มีตัวเลือกมากขึ้น อย่างเช่นแบรนด์ ใบว่าน, Hug, ปันกันกรีน หรือพระนครทำเล่น
“ด้วยความที่คนยังติดการใช้ฟองอยู่มาก โปรดักต์เราเลยมีทั้งแบบออร์แกนิกและกึ่งออร์แกนิกถึงจะมีสารเคมีบ้างแต่ความเข้มข้นก็น้อยกว่าปกติ อีกอย่างคือเราอยากให้ใครก็เริ่มลดขยะได้ ไม่ได้กำหนดเซกเมนต์ว่าต้องเป็นคนสายออร์แกนิกเท่านั้น” แอนผู้รับบทดีลกับผู้ประกอบการเล่า “มันเป็นบริการที่ใช้เซอร์วิสสูง ลูกค้าไม่ค่อยรู้ว่าต้องทำยังไง ต้องค่อยๆ สอนว่าชั่งอย่างนี้ วัดอย่างนี้ แต่ตอนนี้คนเริ่มพาเพื่อนหรือครอบครัวมาและอธิบายกันเองได้แล้ว”
ตอนนี้ Refill Station มีสินค้าหลากหลายขึ้นเยอะ ดึงดูดลูกค้ามาที่คาเฟ่ได้มากมาย แถมยังมีคนติดต่ออยากเอาสินค้าเข้ามาขาย แต่ด้วยข้อจำกัดด้านพื้นที่ พวกเขาจึงเชียร์ให้คนที่สนใจลองเปิดร้านดูเลย ล่าสุดยังต่อยอดจัดมีตติ้งพบปะสำหรับคนสนใจธุรกิจแนวนี้ที่ร้านด้วย
กลยุทธ์ช่วยลดขยะที่ซ่อนตัวอยู่ทุกมุมร้าน
นอกจากพระเอกอย่างน้ำยาในร้านยังมีพระรองตัวช่วยที่ทำให้เราลดขยะได้มากขึ้นอีกหลายอย่าง เช่น ขวดพลาสติกใช้ซ้ำที่รับบริจาคมาเพื่อให้ลูกค้าที่อยากมาซื้อน้ำยาแต่ลืมขวดเอาไปใช้ได้ (ใครมีขวดสะอาดและสภาพดีเก็บไว้และอยากหาที่ปล่อยก็ถือมาที่ร้านได้เลยนะ) นอกจากนี้ในร้านก็ยังมีสินค้าช่วยโลกให้ซื้อหาได้ อย่างหลอดซิลิโคน หลอดสเตนเลส แปรงสีฟันไม้ไผ่ ขวดน้ำ กล่องข้าว ไปจนถึงสบู่ก้อนหอมน่าใช้ที่ดีตรงที่ไม่สร้างขยะ ต่างจากสบู่เหลวที่จำเป็นต้องมีขวด
อาหารที่กินแล้วดีต่อใจและสุขภาพ
ส่วนประกอบสำคัญของคาเฟ่คืออาหารและเครื่องดื่ม คอนเซปต์ที่ Better Moon เลือกใช้คืออาหารที่ดีต่อสุขภาพแบบพอดีๆ กินง่าย ครบ 5 หมู่ ไม่เน้นสายคลีนหรือออร์แกนิกจ๋า หวานน้อย และมีความเป็นไทยแบบบ้านๆ
ตัวอย่างเช่น กาแฟซิกเนเจอร์ของร้านอย่าง Better Moon Milk Coffee รสชาติไม่เน้นหวานที่โปะด้วยข้าวแต๋น น้ำส้มจี๊ดโซดาสูตรเฉพาะของครอบครัว น้ำผลไม้สกัดเย็นที่ไม่เติมน้ำตาลและน้ำแข็ง
ชาสมุนไพรที่เปิดให้เราเลือกส่วนผสมได้เอง (ถ้าซื้อกลับบ้านก็มีถุงกระดาษง่ายๆ ให้ฟรี) ส่วนอาหารจานหลักและขนมจะหมุนเวียนไปเรื่อยๆ เพราะอยากให้ลูกค้าประจำได้กินรสชาติใหม่ๆ ตลอดเวลา
ด้วยข้อจำกัดด้านการจัดการและต้นทุนในเวลานี้ หลอดสำหรับเครื่องดื่มที่ร้านใช้จะเป็นหลอดกระดาษ ยกเว้นกรณีที่ต้องการซื้อแบบ take away ที่หลอดกระดาษจะทนทานไม่พอ หรือน้ำปั่นที่ใช้หลอดกระดาษแล้วจะดูดไม่ขึ้นเท่านั้น แต่ทีเด็ดของร้านคือการส่งเสริมให้คนพกแก้วมาเองด้วยกลยุทธ์ลดราคา 5 บาทต่อเมนู ในอนาคตทีมงานก็ยังอยากขยายโซนอาหารแห้งหรืออาหารเช้าอย่างโยเกิร์ตหรือกราโนล่าเพิ่มด้วย คนจะได้ถือกล่องถือแก้วมาเติมแล้วเอากลับไปกินได้
กรุณานำอาหารจากภายนอกเข้ามากินในร้าน
พออยู่ในซอยที่อุดมด้วยอาหารขนาดนี้ แน่นอนว่าลูกค้าอาจอยากกินอาหารร้านนั้นผสมกับน้ำของร้านนี้ ที่นี่เลยคิดแหวกด้วยการต้อนรับอาหารจากร้านอื่น ภายใต้เงื่อนไขเดียวคือ ขอให้นำจานที่จัดไว้ให้ของที่ร้านถือออกไปเติมอาหารกลับเข้ามานั่งกิน ช้อนส้อมมีให้ กินเสร็จแล้วขอให้ช่วยล้างเก็บก็พอ
“ตอนแรกเราคิดว่าจะทำให้ซอยนี้ไม่มีขยะจากแพ็คเกจได้ไหม มันท้าทายนะเพราะซอยนี้มีอาหารริมทางเยอะ เลยคิดวิธีให้เริ่มจากการเอาจานไปเติม คนในซอยก็เริ่มรู้เพราะมีฝรั่งถือจานขาวๆ ออกไปเติมกันบ่อยๆ อ๋อ ร้านนี้เขาไม่เอาพลาสติกนะ บางคนก็เริ่มคุยกันเองว่า อ้าว ทำไมวันนี้ใช้โฟมล่ะ เริ่มมีการตระหนักกันมากขึ้น เขาทำเท่าที่เขาทำได้ก็ยังดี เพราะเราไม่ได้คาดหวังให้คนมาเปลี่ยนแบบร้อยเปอร์เซ็นต์” แพร์ย้ำจุดยืน
พวกเขาพยายามประยุกต์แนวคิด eco-friendly กับทุกมิติของร้านโดยไม่กดดันจนเกินไป ถ้าใครยังซื้อของใส่ถุงเข้ามาก็จะอธิบายและขอความร่วมมือในครั้งหน้า ส่วนในระบบการทำงาน เวลาพนักงานออกไปซื้อของก็จะให้ใช้ถุงรียูสที่เก็บไว้อยู่แล้ว พร้อมทั้งจัดเตรียมหลอดสแตนเลสไว้ให้พนักงานใช้ด้วย
สร้างแรงกระเพื่อมวงกว้างจากจุดเล็กๆ
หลังเปิดร้านอย่างเป็นทางการ นอกจากจะมีผู้บริโภคที่สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมาพูดคุยแบ่งปันความคิดเห็นอยู่สม่ำเสมอ จนทีมตัดสินใจทำ contact sheet แปะไว้ให้เขียนในร้านเผื่อลูกค้าจะได้แลกเปลี่ยนกันเอง เรื่องน่าเซอร์ไพรส์อีกอย่างคือแม้แต่คนต่างชาติก็ยังติดต่อมาขอคำแนะนำ
“ก่อนหน้านี้เราคิดว่าเราเริ่มช้า เคยมีเพื่อนคนมาเลเซียของแอนมาพูดเกทับว่าไทยช้าในเรื่องนี้ แต่พอเราทำ เราก็พบว่ามีที่อื่นที่สนใจเรื่องนี้แต่ยังไม่ได้เริ่ม เหมือนตอนเราเห็นร้านในยุโรปหรือในสหรัฐอเมริกาแล้วมันเป็นแรงบวกให้เรา คนทักเข้ามามีทั้งสิงคโปร์ ออสเตรเลีย เวียดนาม ทุกคนน่ารักมากที่บอกว่าอยากทำแบบนี้บ้าง คุณจะมายด์มั้ย เราก็บอกว่าจริงๆ โมเดลไม่ได้มาจากเราหรอก” น้ำมนต์เล่าก่อนแอนจะช่วยเสริม
“เราเหมือนกลายเป็น hub ของคนที่สนใจสิ่งนี้ไปโดยปริยาย มีคนอยากมาคุยด้วยรายวัน มีอาจารย์ที่ทำ social enterprise เชิญไปบรรยายให้นักศึกษาฟัง มีคุณครูอยากพาเด็กนักเรียนมาดูที่นี่และจัดคลาสสิ่งแวดล้อมเล็กๆ คนอยากทำ Refill Station ก็มีเยอะ มีคนนึงที่อยู่พัทยาก็คุยจริงจังแล้ว”
เมื่อสิ่งที่พวกเขามอบให้ลูกค้าที่มาร้านไม่ใช่แค่สินค้า แต่เป็นแนวคิดเรื่องสิ่งแวดล้อมและพลังในการลงมือทำ มันจึงเป็นอย่างที่น้ำมนต์กล่าวว่า สิ่งที่พวกเขาทำอยู่คือ small move หรือการเคลื่อนไหวจากจุดเล็กๆ ที่น่าจะช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงในวงกว้างต่อไปได้
เราไม่รู้เลยว่ามีคนอินเรื่องนี้เยอะจนเริ่มทำร้าน ความจริงทุกคนคงอยากเริ่มทำอะไรบางอย่างเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมแต่คิดว่าคนอื่นคงไม่ทำกันหรอก คิดว่ามีตัวเองทำอยู่คนเดียว เราเลยคิดว่าถ้าเรามีเส้นทางให้คนเริ่มง่ายๆ คนก็พร้อมจะตามแล้ว” แพร์สรุป
อ้างอิง https://adaymagazine.com/shop-better-moon-cafe-and-refill-station/
โฮมเพจ
อ้างอิง https://adaymagazine.com/shop-better-moon-cafe-and-refill-station/
โฮมเพจ
Comments
Post a Comment